https://www.youtube.com/watch?v=M12KGUg3PMo
ปอยหลวง
งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ
นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน
งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน
และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม
ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์
ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน
ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์
จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน
ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ
จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน
งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย
เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน
โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย
จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่
และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย
งานไหว้สาพญามังราย
งานไหว้สาพญามังราย
จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย
มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่
23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์
เป็งปุ๊ด
“เป็งปุ๊ด” หรือ “เพ็ญพุธ”
เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ
ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย
ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกันยายนป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน
และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ
มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า
ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด
และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร
http://www.baanjomyut.com
http://www.baanjomyut.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น