head

head

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดเชียงราย

https://www.youtube.com/watch?v=LNcRAmmZJxE
 
                                                       www.wiangphangkham.go.th    
    
          เชียงรายมีเมืองโบราณเก่าแก่อยู่ที่เชียงแสน ตามพงศาวดารสิงหนวัติกล่าวว่า เมื่อชนชาวไทยอพยพ จากจีนตอนใต้นั้น ได้มาตั้งอาณาจักรโยนก เชียงแสนขึ้นโดยตั้งเมืองอยู่ที่เวียงสีทอง มีกษัตริย์ปกครอง ต่อเนื่องกันมาจนถึงราว พ.ศ. 1580 สมัยพระเจ้าพังคราชปกครองเชียงแสน ขอมซึ่งกำลังเรืองอำนาจ ได้เข้ามายึดครองเชียงแสนเป็นเมืองขึ้น และให้เชียงแสนส่งส่วยทองคำ จำนวนมากพระเจ้าพังคราช ได้พาราษฎรอพยพหนีไปอยู่บน ฝั่งแม่น้ำสาย แต่พวกขอมก็ตามไป บังคับเก็บส่วยอีก นับเป็นยุคที่อาณา จักรโยนกเชียงแสนตกต่ำอย่างมาก พระเจ้าพังคราชมีโอรสสององค์ชื่อ ทุกชิตกุมารและพรหมกุมาร เมื่อพรหมกุมารเจริญวัยขึ้น ได้ซ่องสุมกำลังพลไว้เพื่อต่อสู้กับขอม เมื่ออายุได้ 17 ปี ก็สามารถขับไล่ขอม ออกไปได้ พร้อมกับ เชิญเสด็จพระเจ้าพังคราชมาปกครองโยนกเชียงแสนตาม เดิมและเปลี่ยนชื่อเวียง สีทองเป็นเวียงไชยบุรีโดยให้เจ้าทุกชิตกุมารเป็นมหาอุปราช ส่วนพรหมกุมารมาตั้งเมืองใหม่ชื่อไชยปราการในสมัยพระเจ้าพรหมนี้เองได้มีการยกกองทัพขับไล่ขอมลง ใต้มาถึงกำแพงเพชรและได้นำพระแก้วมรกตจากกำแพงเพชรกลับไปด้วยไชยปราการมีผู้ปกครองต่อมาอีกเพียงองค์เดียวก็ต้องอพยพทิ้งเมืองเนื่องจากถูกพม่ารุกราน เชื้อสายพระเจ้าพรหมสืบต่อเนื่องมาถึงเจ้าลาวจักราชเจ้าลาวเม็ง        
          และพญาเม็งรายพญาเม็งรายประสูติในปี พ.ศ.
1781 เป็นพระโอรสของ  พระเจ้าลาวเม็ง และนางอั้วมิ่งเมืองธิดาท้าว รังแก่นชายผู้ครองเมืองเชียงรุ้ง ทรงอภิเษกสมรสกับธิดาเมืองเชียงเรือง เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษาพญาเม็งรายขึ้นครองเมืองหิรัญนครเงินยางต่อจากพระเจ้าลาวเม็งในปี พ.ศ. 1802 หลังจาก ขึ้นครองราชย์ พญาเม็งรายก็ปราบปรามหัวเมืองต่างๆ เพื่อรวบรวมบ้านเมืองให้เป็น ปึกแผ่นระหว่าง การปราบปรามหัว เมืองต่างๆ พญาเม็งรายก็มาพบทำเลดีที่ริมน้ำกก ในปี พ.ศ. 1805 พญาเม็งรายจึง อพยพผู้คนมาตั้งเมือง ใหม่ที่ริมแม่น้ำกกโอบล้อมดอยจอมทองไว้ ตั้งชื่อเมืองว่าเชียงราย อยู่เชียงราย ได้เพียง 3 ปีพญาเม็งรายก็ ย้ายไปตั้งเมืองใหม่ ที่เวียงไชยปราการ (ฝาง) ในปี พ.ศ. 1811 ส่วนเมืองเชียงรายเดิมยกให้ขุนเครื่อง ราชโอรสองค์โตครอง แต่ภายหลังก็ถูกประหารชีวิตเนื่องจาก เป็นกบฏพญาเม็งรายสามารถขยายอาณาเขต ได้กว้างขวาง ทิศเหนือขยายถึงสิบสองปันนา ทิศใต้ จดพะเยา เมืองเล็กเมืองน้อยต่างมาขอสามิภักดิ์ เมืองใกล้เคียงที่ยังไม่ยอมมาสามิภักดิ์คือพะเยา และหริภุญไชย พญาเม็งรายทรงยกทัพมาตีเมืองพะเยา ก่อนแต่พ่อขุนงำเมืองนั้นรักสงบเลยยกทัพ มารับและยกแคว้น ปากน้ำให ทั้งสองเมืองจึงกระทำสัตย์เป็น มิตรกันซึ่งทำให้พญาเม็งรายได้เป็น มิตรกับพ่อขุนรามคำแหง แห่งสุโขทัยด้วย
          จากนั้นพญาเม็งรายก็ทรง ยกทัพมาตีเมืองหริภุญไชยของพญายีบาได้ในปี พ.ศ.
1824 แล้ว ย้ายเมืองไปตั้งใหม่ที่เวียงกุมกาม ในปี พ.ศ. 1829 และย้ายไปตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1835 - 1839 เกิดเป็นอาณาจักรล้านนาที่รุ่งเรือง  ทางด้านเชียงรายมีกษัตริย์สืบราชวงศ์ต่อมา คือ พระเจ้าชัย สงครามราชโอรสพญาเม็งราย เมื่อพญาเม็ง รายเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1860 พระเจ้าชัยสงครามสละ ราชสมบัติให้พระเจ้าแสนภู ราชโอรสส่วน ตนเองนำอัฐิของพญาเม็งรายไปบรรจุไว้ที่ดอยงำเมือง และเฝ้าอยู่ทีนั่น ปี พ.ศ. 1871 พระเจ้าแสนภู ย้ายเมืองใหม่ไปอยู่ริมแม่น้ำโขง และขุดคูอีกสามด้านล้อมรอบ ตัวเมืองไว้ ตั้งชื่อเมืองว่าหิรัญนคร ชัยบุรีศรีเชียงแสน (อำเภอเชียงแสนในปัจจุบัน) และมีกษัตริย์ สืบต่อมา ถึงปี พ.ศ.2101ก็เสียเมืองแก่พม่า  เชียงรายและเชียงแสนเป็นอิสระจากพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ และถูกยกฐานะเป็น จังหวัดเชียงรายในปี พ.ศ. 2476





http://www.oocities.org

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดเชียงราย


 ที่ตั้ง  
          จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของแผ่นดินไทย ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครทาง รถยนต์ประมาณ 785 กิโลเมตร ทิศเหนือจดประเทศจีนและพม่าทิศตะวันออกจดประเทศลาวและจังหวัดน่านทิศใต้จดจังหวัดพะเยาทิศตะวันตก จด จังหวัดเชียงใหม่

ขนาด
          จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่รวม 11,678 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ อำเภอเมือง เวียงป่าเป้า พาน แม่จัน เชียงของ แม่สาย เทิง เวียงชัย แม่สรวย ป่าแดด เชียงแสน และพญาเม็งราย และ 4 กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง กิ่งอำเภอแม่ลาว กิ่งอำเภอเวียงแก่น และกิ่งอำเภอขุนตาน


ภูมิประเทศ
         พื้นที่ของเชียงรายส่วนใหญ่เป็นป่า ที่ราบสูง และมีภูเขาล้อมรอบ ที่ราบสำหรับเพาะปลูกมี เพียงประมาณ 19% ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณสองฝั่งของถนนพหลโยธิน มี แม่น้ำสำคัญหล่อเลี้ยงจังหวัด 8 สาย คือ แม่น้ำโขง แม่น้ำกก แม่น้ำลาว แม่น้ำอิง แม่น้ำคำ แม่น้ำจัน แม่น้ำสาย และแม่น้ำรวก


ภูมิอากาศ
         เชียงรายมีอากาศดีตลอดปี ช่วงที่น่าท่องเที่ยวที่สุดคือช่วงที่อากาศหนาวที่สุดในราวเดือน ธันวาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์

ประชากร
         เชียงราย มีประชากรทั้งหมดประมาณ 1.2 ล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ที่เหลือ อาศัยอยู่กระจายไปตามหัวเมืองรอบนอก เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีชาวเขาอยู่มากที่สุดในประเทศ ไทยโดยอาศัยอยู่ตามภูเขาสูง และบริเวณริมน้ำที่อยู่ห่างไกล


ภาษา
         ชาวเชียงรายมีภาษาเมืองของตนเอง แต่ก็ใช้ภาษาไทยกลางเป็นส่วนใหญ่ และเนื่องจาก มีชาวเขาหลายเผ่า เชียงรายจึงมีภาษาถิ่นอีกมากมาย


ศาสนา
         เชียงรายนับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักเช่นเดียวกับชาวไทยภาคอื่นๆ



http://www.oocities.org



วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย


คำขวัญจังหวัดเชียงราย
เหนือสุดยอดในสยาม  ชายแดนสามแผ่นดิน  ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย 
                                                              www.suanattaporn.com

 
ต้นไม้ประจำจังหวัด
เชียงราย
ชื่อพันธุ์ไม้
กาซะลองคำ
ชื่อสามัญ
Tree Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์
Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงศ์
BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น
กากี (สุราษฎร์ธานี), กาซะลองคำ (เชียงราย), แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง), จางจืด (เชียงใหม่), สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 6–20 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบแหลม ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก เมื่อแก่แตกเป็นสองซีกเมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม
ดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิด
ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ

http://www.panmai.com

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ศิลปะวัฒนธรรมและประเพณีจังหวัดเชียงราย

https://www.youtube.com/watch?v=M12KGUg3PMo

ปอยหลวง

          งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน

ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์


          จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน 


งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย
          เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย

งานไหว้สาพญามังราย 
          จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่ 23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์

เป็งปุ๊ด    

          “เป็งปุ๊ดหรือ เพ็ญพุธ เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกันยายนป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร

http://www.baanjomyut.com









วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย

https://www.youtube.com/watch?v=robQ_CFI_-E

วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์



          อยู่บนเทือกเขาดอยช้าง ต.แม่กรณ์ ห่างจากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข1211 ประมาณ 18 กม. เลี้ยวขวาเข้าไป 12 กม. หรือไปตามทางหลวงหมายเลข1 สายเชียงราย-พะเยา ประมาณ 15 กม. จะมีป้ายแยกขวาไปอีก 17 กม. ถึงที่ทำการวนอุทยานฯ แล้วเดินเท้าไปยังตัวน้ำตกอีกประมาณ 30 นาที น้ำตกขุนกรณ์เป็นน้ำตกที่สูงและสวยที่สุดของจังหวัดเชียงราย ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำตกตาดหมอก" มีความสูงถึง 70 ม.สองข้างทางที่เดินเข้าสู่ตัวน้ำตกเป็นป่าเขาธรรมชาติร่มรื่น

ภูชี้ฟ้า   

www.phucheefalodge.com

          วนอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ฟ้าทอง มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 พื้นที่วนอุทยานเป็นยอดเขาสูงในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภูชี้ฟ้า ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงทางตะวันออกของจังหวัดเชียงราย อยู่ระหว่างรอยตะเข็บชายแดนไทยลาว ลักษณะเป็นหน้าผาสูงเป็นแนวยาวไปตามแนวชายแดน บริเวณปลายสุดของหน้าผามีลักษณะแหลมคล้ายกับนิ้วมือชี้ยื่นออกไปในอากาศ จึงเป็นที่มาของชื่อ "ภูชี้ฟ้า" จุดที่สูงสุดของภูชี้ฟ้าอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,200 ถึง 1,628 เมตร เบื้องล่างของหน้าผาเป็นแอ่งหุบเขา เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเชียงตอง แขวงไชยบุรี ประเทศลาว

ดอยผาตั้ง



           มีความสูงประมาณ 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นยอดดอยในเทือกเขาหลวงพระบาง เป็นเส้นแบ่งเขตไทย-ลาว อยู่ห่างจากภูชี้ฟ้าประมาณ 30 กิโลเมตร ดอยผาตั้ง ถือเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ชาวท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ คือ ชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ปลูกพืชเมืองหนาว เช่น บ๊วย ท้อ สาลี่ แอปเปิ้ล และชา เป็นหนึ่งสีสันแห่งวัฒนธรรมชนเผ่า
จากยอด ดอยผาตั้ง สามารถมองเห็นทิวทัศน์ริมโขงของฝั่งลาว และยอดภูชีฟ้า ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 25 กิโลเมตร เส้นทางขึ้นดอยมีร้านค้าและที่จอดรถให้บริการ เป็นสถานที่ซึ่งไปเที่ยวได้ตลอดปี  


วัดร่องขุ่น



          วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่มีความสวยงามโดดเด่นต่างจากวัดอื่นๆ ด้วยฝีมือการออกแบบ และก่อสร้างของ อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อดัง เพื่อเป็นวัดประจำบ้านเกิด สร้างโดยจินตนาการของอาจารย์ จัดเป็นงานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่ และงดงามน่าแวะชมมากแห่งหนึ่ง
 อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มีแรงบันดาลใจในการสร้างวัดแห่งนี้อยู่ 3 ประการ คือ เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ไร่ชาฉุยฟง

          ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านพญาไพร ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวงและอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกชา ชั้นดี ของ บริษัท ฉุยฟงที จำกัด ซึ่งป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ที่สุดใน จังหวัดเชียงราย โดยมีประสบการณ์ยาวนาน ในการเพาะปลูก ชามากว่า 40 ปี ปัจจุบัน บริษัท ฉุยฟง  เป็นผู้ผลิตชาผู้จัดจำหน่ายและผู้ส่งออก มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ใช้ทาง ด้านอุตสาหกรรม เช่น โออิชิ มาลี ยูนีฟ ลิปตัน เป็นต้น สวนชาตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า1,000 ไร่ ตั้งอยู่ในภูมิประเทศแถบเทือกเขาสูง ซึ่งอยู่บนพื้นที่ี่สูงกว่า ระดับน้ำทะเลกว่า 1,200 เมตร มีความสวยงามของไร่ชาที่กว้างใหญ่ กว่าพันไร่ โดยจะปลูกโค้งวน ตามสันเขาและลดหลั่นเป็น ขั้นบันได ซึ่งดูสวยงามแปลกตากว่าไร่ชาที่อื่น ทำให้ ไร่ชาฉุยฟง กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจใน ภายในไร่ชานอกจากจะ ได้ชมทัศนียภาพที่สวยงามของไร่ชาแล้ว ยังมีร้านอาหารเมนูยอดนิยม เช่น ยำทูน่า สปาเก็ตตี้ยูนาน หมั่นโถวใบชานุ่มอร่อยสุดๆ

วัดพระธาตุดอยตุง



          อำเภอแม่จัน เป็นสถานที่ประดิษฐานพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย หรือกระดูกไหปลาร้าซึ่งนำมาจากประเทศอินเดีย ดังมีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อ 1,000 กว่าปีล่วงมาแล้ว ประมาณ พ.ศ. 1454 พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วยพระเข้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธ์ ร่วมกับข้าราชบริพารได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสถิตไว้ ณ ดอยแห่งนี้ และได้ปักตุงหรือธงบูชาพระบรมสารีริกธาตุ เป็นตุงตะขาบมีความยาวถึงพันวาปักไว้บนยอดดอยปล่อยชายตุงปลิวสะบัดถึงที่ใดให้หมายเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ดอยนี้จึงได้ชื่อว่าดอยตุงมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระธาตุดอยตุงเป็นปฐมเจดีย์แห่งล้านนา ตุง คือศรีเมือง ขวัญเมือง และเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา สถิตคู่พระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ ตามศิลปะแบบล้านนาดั้งเดิมและได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบองค์เดิมไว้

https://th.wikipedia.org
http://travel.mthai.com
http://place.thai-tour.com
http://www.chiangraifocus.com



  

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาหารพื้นเมืองของจังหวัดเชียงราย

https://www.youtube.com/watch?v=ddj7wASA3nQ

แกงฮังเล 


          แกงฮังเล บางแห่งก็เรียกว่า แกงฮินเล หรือ แกงฮันเล มีอยู่ ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในสมัยอดีต จากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า ฮินแล หรือ ฮังแล นั้นเป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่า แกงโฮะ ” ส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียก ฮินแล หรือ ฮังแล นั้น
ชาวพม่าเรียก แวะตาฮีน ซึ่งแปลว่าแกงหมู 


แกงโฮ๊ะ


          แกงโฮ๊ะ  คำว่า โฮ๊ะ แปลว่า รวม แกงโฮ๊ะ ก็คือการนำเอาอาหารหลายๆอย่างมารวมกัน หรือเวลาที่อาหารเหลือจากการรับประทานคนเหนือก็จะนำมาแกงโฮ๊ะหรือคั่วโฮ๊ะนั่นเอง แกงโฮ๊ะจะมีรสชาติเผ็ดร้อน หอมเครื่องแกง รับประทานกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวย ก็ได้ 

ข้าวซอย


          ข้าวซอย   คือ อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็น อาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน ในตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมูหรือเนื้อไก่หรือเนื้อวัว มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส

ขนมจีนน้ำเงี้ยว   


          ขนมจีนน้ำเงี้ยว   เป็นอาหารยอดนิยมของคนล้านนา มานาน ประกอบด้วยเส้นขนมจีน, เลือดหมู, เนื้อหมู, มะเขือเทศ เป็นหลัก มีทั้งสูตรเชียงราย (ใส่ดอกงิ้ว) สูตรเชียงใหม่ (ใส่เต้าเจี๊ยว) สูตรลำปาง (ใส่ถั่วเน่า) สูตรแพร่ (เป็นแบบน้ำใส) เป็นต้น


ข้าวกั๊นจิ๊น    


          ข้าวกั๊นจิ๊นหรือข้าวเงี้ยว เป็นอาหารของชาวไทใหญ่ที่แพร่หลายในล้านนา เป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อย พกพาไปไหนๆ ได้สะดวก เหตุที่เรียกข้าวกั๊นจิ๊นนั้น เพราะคำว่า กั๊นเป็นคำกริยาในภาษาล้านนาแปลว่า นวด เพราะขั้นตอนของการทำข้าวกั๊นจิ๊นนั้นต้องนวด ข้าวให้เข้ากับเลือดด้วย แต่บางคนเข้าใจว่าเป็นข้าว กั้นจิ๊น หรือข้าว ที่ไม่มีเนื้อสัตว์ เพราะคิดว่าคำว่า กั้นนั้นคืออดอยาก ก็มี (สังเกตวรรณยุกต์ ต่างกัน) ข้าวกั๊นจิ๊นนั้น บางครั้งเรียกว่า ข้าวเงี้ยวเพราะเป็นอาหารของชาวไทใหญ่ ในอดีตชาวล้านนามักจะเรียกชาวไทใหญ่ว่าเงี้ยว ซึ่งมีนัยของการดูถูกชาติพันธุ์ว่า เป็นชนชาติที่เจ้าเล่ห์ คบไม่ได้ และเรียกสิ่งต่างๆ ที่เป็นของชาวไทใหญ่ว่าเงี้ยว ต่อท้าย เช่น ฟ้อนเงี้ยว หรือ ข้าวเงี้ยว เป็นต้น

ข้าวฟืน         


          เรียกกันติดปากว่า ข้าวแรมฟืนหรือ ข้าวแรมคืนเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มีรสเปรี้ยว เผ็ด หวาน เป็นทั้งอาหารว่าง และอาหารหลัก เป็นได้ทั้งอาหารคาวและหวาน แต่ทุกอย่างเป็นมังสะวิรัต เป็นอาหารเจ ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวไทยใหญ่ ไทลื้อ และไทเขิน นำเข้ามาจากทางสิบสองปันนาประเทศจีน ผ่านมาทางพม่า แล้วเข้ามายัง อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว จนกลายเป็นอาหารของชาวแม่สาย คำว่า "ข้าวแรมฟืน" คงเพี้ยนมาจาก ข้าวแรมคืน ซึ่งชื่อนี้ก็คงมาจากวิธีการทำนั่นเอง เพราะจะนำข้าวเจ้า หรือ ถั่วลันเตา หรือ ถั่วลิสง มาโม่จนเป็นแป้ง แล้วนำน้ำแป้งที่ตกตะกอนมาเคี่ยวกับปูนขาวจนสุก จากนั้นเทใส่ภาชนะใดก็ได้ ทิ้งไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้นแป้งจะแข็งตัว ตามรูปภาชนะที่บรรจุ

http://orachaporn2539.blogspot.com/2013/08/blog-post_484.html